วิดีโอ

วิธีการเปลี่ยนใบเลื่อยสายพาน

ตัวอย่าง WH-510A

รีวิว LX-250A

เครื่องลับคมเม็ดมีด MC-160W

เครื่องคัดขนาดส้ม

เครื่องลับคมดอกสว่าน PP-30

เครื่องลับคมดอกสว่าน DG-01

แขนต๊าประบบลมรุ่น 12B

แขนต๊าประบบกึ่งอัตโนมัติรุ่น 16B

แท่นต๊าป SWJ-12

รีวิววิธีการใช้เครื่องเลื่อยสายพานรุ่น HR-812C

วิธีการเปลี่ยนใบเลื่อย HR-812C

  วิธีการเลือกซื้อเครื่องเลื่อย
      ก่อนจะตัดสินใจซื้อเครื่องเลื่อยนั้น ควรที่จะมองก่อนว่า เราต้องการตัดเหล็กขนาดที่ใหญ่ที่สุดเท่าไหร่ ต้องการความรวดเร็วในการตัด หรือต้องการ
  แบบราคาประหยัด โดยอาจจะตั้งโจทย์ตามลำดับดังต่อไปนี้
      1) ต้องการเครื่องเลื่อยเพื่อตัดชิ้นงานใหญ่เท่าไหร่
      2) งบประมาณในการจัดซื้อ
      ทั้งนี้เครื่องเลื่อยที่นิยมกันโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องเลื่อยระบบชัก และเครื่องเลื่อยระบบสายพาน ซึ่งทั้งสองแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตก
  ต่างกัน เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น ต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายถึงข้อดีและข้อเสียของเครื่องเลื่อยทั้งสองแบบนี้

เครื่องเลื่อยระบบชัก (HACK SAWING MACHINE) เครื่องเลื่อยระบบสายพาน (BAND SAW)
ข้อดี ข้อเสีย ข้อดี ข้อเสีย
1) ราคาถูก
2) ค่าบำรุงรักษาต่ำ
3) ใบเลื่อยหาซื้อได้ง่าย
1) ตัดชิ้นงานขนาดใหญ่ได้ช้า
2) ไม่เหมาะกับการตัดชิ้นงานที่มีขนาดบาง เช่น แป๊บ, เหล็กฉาก หรือเหล็กกล่อง
1) ตัดชิ้นงานได้เร็วกว่าเครื่องเลื่อยระบบชัก
2) ความเที่ยงตรงสูง (ขึ้นอยู่กับสภาพใบเลื่อย)
3) สามารถตัดงานได้ทุกประเภท (เปลี่ยนใบเลื่อยให้เหมาะสมกับชิ้นงาน)
4) ระบบเครื่องมีทั้งแบบ Manual, Semi-Auto และ Automatic (ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง)
1) อายุการใช้งานของใบเลื่อยสายพานจะสั้นกว่าใบเลื่อยชัก (ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ตัดด้วย)

      ทั้งนี้ รายละเอียดข้างต้นนี้เป็นเพียงรายละเอียดคร่าว ๆ เท่านั้น หากกำลังตัดสินใจซื้ออยู่ ก็สามารถติดต่อสอบถามกับทางบริษัทฯ ก่อนได้ เพื่อความ
  เข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

  เลือกปั๊มลมอย่างไรให้เหมาะกับงานที่ต้องการใช้
      สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อปั๊มลมนั้นมีด้วยกันหลายประการ แต่หลักสำคัญอย่างเช่น ประการแรก ดูลักษณะงานที่ต้องการนำปั๊มลมไปใช้ ว่า
  ต้องการใช้แรงดันลมที่เท่าไหร่ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่เราจะนำไปใช้ ประการที่สองสถานที่ที่จะนำปั๊มลมไปติดตั้งใช้งาน
  เพื่อช่วยให้ได้ปั๊มลมไปใช้งานได้เหมาะสมตามความต้องการ
  ปร. มีอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ใช้ตัดสินใจซื้อปั๊มลมไปแล้ว ต้องกลับมาซื้อเพิ่มอีก เนื่องจากแรงดันลมที่ต้องการใช้งานนั้นไม่พอ

  วิธีแก้ปัญหาใบเลื่อย

ลักษณะของใบเลื่อยที่เกิดปัญหา วิธีตรวจสอบและวิธีแก้ไข

ใบเลื่อยขาด
1. ใบเลื่อยตั้งตึงหรือหย่อนเกินไป - ปรับตั้งใบเลื่อยให้มีความตึงที่เหมาะสม
2. เลือกใช้ขนาดของฟันเลื่อยไม่ถูกต้อง - เลือกขนาดของฟันเลื่อยตามตารางด้านบน
3. ใบเลื่อยเริ่มเสื่อมสภาพ - เปลี่ยนใบเลื่อยใหม่
4. ตั้ง Feed ไฮโดรลิคให้ลงเร็วเกินไป - ปรับตั้งไฮโดรลิคให้เหมาะสมกับชิ้นงาน (ตั้งให้ขณะเลื่อยตัดชิ้นงานตัวเครื่องมีอาการสั่นสะเทือนน้อยที่สุด)
5. ลูกปืนประครองใบเลื่อยหมดสภาพ - ตรวจเช็คและเปลี่ยนลูกปืนประครองใบเลื่อยตัวที่เสื่อมสภาพ

ฟันเลื่อยสึกเร็ว
1. ฟันของใบเลื่อยวิ่งผิดด้าน - ใส่ใบเลื่อยให้วิ่งไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา (จะมีลูกศรบอกติดอยู่ที่หน้าเครื่อง)
2. น้ำยาหล่อเย็นหมดสภาพ หรือผสมน้ำยาหล่อเย็นไม่ถูกต้อง - เปลี่ยนน้ำยาหล่อเย็นใหม่ และผสมตามอัตราส่วนตามที่กำหนด (อัตราส่วนขึ้นอยู่กับยี่ห้อของน้ำยาหล่อเย็น)
3. เลือกใช้ชนิดของฟันเลื่อยไม่ถูกต้อง - เลือกขนาดของฟันเลื่อยตามตารางด้านบน
4. แปรงปัดขี้เลื่อยหมดสภาพ - เปลี่ยนแปรงปัดใบเลื่อยใหม่
5. ตัดชิ้นงานถูกบริเวณที่เป็นรอยเชื่อม หรือจุดที่ถูกชุบแข็ง

สันใบเลื่อยแตกร้าว
1. ลูกปืนประครองใบเลื่อยหมดสภาพ - เปลี่ยนลูกปืนประครองใบเลื่อยตัวที่หมดสภาพ
2. แขนประครองใบเลื่อยห่างจากชิ้นงานมากเกินไป - ปรับเลื่อนให้แขนประครองใบเลื่อยอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิ้นงานมากที่จะสามารถเลื่อนได้
3. ตั้ง Feed ไฮโดรลิคให้ลงเร็วเกินไป - ปรับตั้งไฮโดรลิคให้เหมาะสมกับชิ้นงาน (ตั้งให้ขณะเลื่อยตัดชิ้นงานตัวเครื่องมีอาการสั่นสะเทือนน้อยที่สุด)
4. ตรวจสอบบริเวณลูกปืนประครองใบเลื่อยว่ามีขี้เหล็กเข้าไปติดค้างอยู่หรือไม่ - ทำความสะอาดลูกปืนประครองใบเลื่อย

รอยตัดไม่เรียบ เป็นรอยสั่น
1. ตั้งใบเลื่อยหย่อนเกินไป - ตั้งใบเลื่อยให้มีความตึงเหมาะสม และอย่าให้ตึงเกินไป
2. ความเร็วรอบไม่เหมาะสม
3. เลือกใช้ชนิดของฟันเลื่อยไม่ถูกต้อง - เลือกขนาดของฟันเลื่อยตามตารางด้านบน
4. ปรับเลื่อนให้แขนประครองใบเลื่อยอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ชิ้นงานมากที่จะสามารถเลื่อนได้

ฟันเลื่อยแตก
1. ตั้งใบเลื่อยหย่อนเกินไป - ตั้งใบเลื่อยให้มีความตึงเหมาะสม และอย่าให้ตึงเกินไป
2. ความเร็วรอบไม่เหมาะสม
3. เลือกใช้ชนิดของฟันเลื่อยไม่ถูกต้อง - เลือกขนาดของฟันเลื่อยตามตารางด้านบน
4. ตัดชิ้นงานถูกบริเวณที่เป็นรอยเชื่อม หรือจุดที่ถูกชุบแข็ง

รอยตัดเฉียงเข้า-ออก (รอยตัดแฉลบ)
1. ตั้ง Feed ไฮโดรลิคให้ลงเร็วเกินไป - ปรับตั้งให้เหมาะสม
2. ฟันเลื่อยหมดสภาพ - เปลี่ยนใบเลื่อยใหม่
3. ตรวจสอบแขนประครองใบเลื่อยว่าเอียงหรือไม่ - โดยใช้เหล็กวัดฉากถาบตรวจสอบระหว่างหน้าแท่นกับใบเลื่อย
4. เลือกใช้ชนิดของฟันเลื่อยไม่ถูกต้อง - เลือกขนาดของฟันเลื่อยตามตารางด้านบน

  Home | Products | Tips / Video | About Us | Contact Us


  Copyright© 2005 hero.co.th, All rights reserved.
บริษัท เจริญผลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
เลขที่ 63 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 3 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150
โทร : 0 2427 3501, 0 2427 7450 แฟกซ์ : 0 2874 2416
Email : info@hero.co.th